พระราชอุทยานสราญรมย์

Tuesday, April 1, 2008



พระราชอุทยาน สราญรมย์
ความเป็นมา



พระราชอุทยานสราญรมย์ คือ นิยามของสวนสราญรมย์ในอดีต ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสราญรมย์ ที่ตั้งอยู่ นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก พระราชวังแห่งนี้รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้สร้างใน พ.ศ. ๒๔๐๙ ตรงบริเวณตึกดินเก่า เพื่อเป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว แต่ยังสร้างไม่เสร็จก็ทรง เสด็จสวรรคตเสียก่อน จนมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ หลายพระองค์เมื่อแรกเสด็จจากวังหลวง ก่อนที่วังส่วนพระองค์จะสร้างเสร็จต่อมาใช้เป็นสถานที่รับพระราช อาคันตุกะจากต่างแดน เช่น เจ้าชายออสคาร์ พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดนในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ซึ่งเจ้าชายพระองค์นี้ทรงบันทึกไว้ถึงความงดงามของพระราชอุทยานสราญรมย์ว่า "งดงามแปลกตา มีสถานที่เลี้ยงสัตว์และนก"
รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ตกแต่งราชอุทยานให้สวยงามร่มรื่น โดยให้นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ ซึ่งรอบรู้ด้านพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดูแลจัดการสวนหลวง จนพระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นที่ร่ำลือว่า "งามน่าชมมากเป็นที่เสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายในเสมอ ๆ" มีการตกแต่งด้วย สระน้ำพุ สวนไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยไม้ ไม้ยืนต้น โดยเฉพาะ "กุหลาบแดง" ไม้ดอกที่ทรงโปรด ปราน มีกรงสัตว์ กรงนก สระจระเข้ เลี้ยงไว้ดูเล่น
ต่อมาในปี ๒๔๔๗ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ทรงดำรงพระอิสริยายศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงโปรดฯ ใช้พระราชอุทยานเป็นที่ฝึกซ้อมวิชาทหารแก่มหาดเล็กรักษาพระองค์และเป็นศูนย์กลางขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และแนวความคิดใหม่ ๆ ในนาม "ทวีปัญญาสโมสร" และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทรงใช้เป็นที่จัดงานฤดูหนาว ประจำปี
ในสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นที่ตั้งของสโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ ต่อมาสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และกรมประชาสงเคราะห์เคยใช้เป็นที่ทำการ รวมถึงใช้สถานที่จัดประกวดนางสาวไทย จัดงานวชิราวุธ ทั้งยังเคยเป็นตลาดนัด ตลาดขายสุนัขอัลเซเชี่ยนในยามบ่ายเมื่อครั้งอดีต
ซึ่ง ต่อมาวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๐๓ รัฐบาลได้มอบให้กรุงเทพมหาครดูแลและ ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะตั้งแต่นั้นมา...



กิจกรรมต่าง ๆ ในสวน



ความร่มรื่น และสดชื่นจากพรรณไม้นานาพันธ์ภายในสวนสราญรมย์ ทำให้มีผู้คนนิยมเข้าหลั่งไหลกันมาออกกำลังกายตามความพึงพอใจ กันตั้งแต่แต่เช้ามืดของทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการรำมวยจีน รำกระบี่ ควงกระบอง ลีลาศ ก็มีให้เห็นทั้งเช้าและเย็น นอกจากนั้ ยังเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ห้องเรียนธรรมชาติแห่งวิชาศิลปะและนิเวศวิทยาของเด็ก ในเวลากลางวัน และด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานผ่านกาลเวลามา นับ ศตวรรษ ทำให้ทุกหนแห่งในสวนสามารถสะท้อนลักษณะสวนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก เห็นได้ชัดจากโบราณวัตถุสถานประกอบสวน และแฝงไว้ด้วยตำนานแห่งความรักความอาลัย ของพระ มหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในอดีตและพระอัครมเหสี เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ที่สร้างให้พระราชอุทยานในอดีตกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูป "สวนศิลปวัฒนธรรม" และยังมี "ดนตรีในสวน" เป็นการแสดงดนตรีไทย สากล สลับหมุน เวียนกับสวนสาธารณะอื่นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแสดงในช่วงเวลาเย็นพร้อมทั้งมกิจกรรมนันทนาการในสวน ด้วยการจัดให้มีการนำเต้นแอโรบิคทุกวัน



จุดที่น่าสนใจในสวน



อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุกุมารีรัตน์
ภายในพระราชอุทยานมีพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนางเรือล่ม พระอัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระอนุสาวรีย์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคตจากอุปัทวเหตุเรือร่ม เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันจันทร์ แรม๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ (ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓) และทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก อาลัยที่พระองค์มีต่อพระอัครมเหสีและ พระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ผู้สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม สร้าง ณ บริเวณที่พระนางเคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งทรงมีพระชนม์ชีพ มีพื้นที่ ๑๗๖,๐๗๙ ตารางเมตร อนุสาวรีย์ทำ ด้วยหินอ่อนบอกเล่า คำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์จากการสูญเสียในครั้งนั้น ลักษณะของพระอนุสาวรีย์เป็นหินอ่อน มียอดปรางค์ ๕ ยอด มีคำจารึกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ





ศาลาเรือนกระจก


ศาลาเรือนกระจก
ศาลาเรือนกระจก เป็น ตึกโถงชั้นเดียวกรุกระจก มีดาดฟ้า ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลาย วิจิตร ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นที่ตั้งของ "ทวีปัญญาสโมสร" และ "โรงละครทวีปัญญา" เป็นสโมสรแบบตะวันตกของเจ้านาย และข้าราชกาชั้นสูง มีการออกหนังสือทวีปัญญารายเดือน การเล่นกีฬาในร่มและกลางแจ้ง ละครพูด และห้องอ่านหนังสือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียน ต้นไม้ กทม. ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา


ศาลากระโจมแตร
"ศาลากระโจมแตร" งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร




ศาลาแปดเหลี่ยม

ศาลาแปดเหลี่ยม
"ศาลาแปดเหลี่ยม" เป็นศาลาพักผ่อน แสดงลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕




ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
"ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง" คือ เก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน




ประตูลาย พันธุ์พฤกษาพร้อมซุ้มประตู


ประตูลายพันธุ์พฤกษาพร้อมซุ้มประตู
"ประตูลายพันธุ์พฤกษาพร้อมซุ้มประตู" ได้รับการ อนุรักษ์ขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร เช่นสิ่งก่อสร้างอื่นในสวน มีลวดลายที่ประณีตอ่อนช้อย



น้ำพุ พานโลหะ น้ำพุสไตล์ยุโรป

น้ำพุพานโลหะ น้ำพุสไตล์ยุโรป
"น้ำพุพานโลหะ น้ำพุสไตล์ยุโรป" เป็น โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ เป็นองค์ประกอบตกแต่งพระราชอุทยานในอดีต




0 comments:

Blog Archive