การค้าประเวณีของเยาวชน โรคเอดส์ ยาเสพติด ใครจะช่วยเราได้..ถ้าเราไม่ช่วยตัวเอง

Wednesday, October 15, 2008

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2550 ผมได้มีโอกาสติดไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศไทย..ซึ่งถือเป็นโอกาสที่มีค่ามากในการเข้าไปมีส่วนร่วม วิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อนในประเทศ อาจกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ ไม่เหมือนกับในอดีต. เด็กเร่ร่อนบางคนมีรายได้จากการขอทาน และขายบริการทางเพศ กับนักท่องเที่ยว ซึ่งตัวของเลขที่ผมรับรู้มาคำบอกเล่าของเด็ก ๆ และคนละแหวกนั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี

เด็กส่วนใหญ่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในลักษณะที่เด็กเต็มอกเต็มใจ เด็กเร่ร่อนยอมที่จะมีเพศสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวเพื่อแลกกับเงิน ซึ่งเงินที่หามาได้ทั้งหมดก็จะนำไปซื้อยาบ้ามาเสพกันในหมู่เพื่อน ๆ บางคนก็ซื้อกาวมาดม.... เด็กๆ เหล่านี้เล่าให้ฟังว่า "ใคร ๆ เขาก็เล่นกันทั้งนั้น.. พวกไม่เล่นสิแปลก.. " และจากการพูดคุยเด็ก ๆ เหล่านี้เขาไม่มีรู้จักโรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เลย..

การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพทางเพศ และปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกส่วนภาคคงต้องเข้ามานั่งคุยกันอย่างตั้งใจ เพราะสิ่งที่ผมพบมันคือการทำงานที่ไม่มีการพูดคุยกันเลย.. จากสิ่งเล่าไปข้างต้นมันกลายเป็นปัญหาที่คนทำงานหลาย ๆ ฝ่ายจะต้องมานั่งพูดคุยกันอย่างจริงจัง ตลอดจนการทบทวนบทบาทการทำงานที่ผ่านว่าเราแก้ปัญหาถูกจุดของมันหรือเปล่า

"เด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเร่ร่อน ซึ่งวงจรของเขาจะเดินทางวนไปวนมาอยู่ ถ้าหน่วยงานของรัฐจับเขา เขาหนีไปจังหวัดประจวบ ชะอำ แล เชียงใหม่บ้าง แล้วกลับมาอยู่ที่พัทยา การออกมาตราการกวาดล้าง เด็กเร่รอน มิใช่เป็นมาตรการถูกต้อง" ถ้อยคำนี้ออกจากปากของท่านอาจารย์ไพบูรณ์ ชาติมนตรี เจ้าหน้าที่ของศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็ก ได้เล่าแนวทางในการทำงานของทางศูนย์แบบเป็นกันเองว่า "เด็กส่วนใหญ่ที่เข้ามาศูนย์ มักจะคิดที่นี่เหมือนคุก" ซึ่งในเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติในช่วงแรก เป็นหน้าที่พวกเราอย่างมาก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกกลัว ไม่ไว้วางใจ อีกทั้งเด็กเหล่านี้มาจากทั่วสารทิศ "เราพยายามทำให้ที่นี่เป็นบ้านสำหรับพวกเด็ก ๆ เราไม่เคยกักขังพวกเขา" เด็ก ๆ ทุกคนจะมีโอกาสได้เรียนหนังสือ และได้รับการดูแลเปรียบเสมือนหนึ่งในครอบครัว อาจารย์ไพบูรณ์กล่าวว่าเด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะมีอุปนิสัยก้าวร้าว ส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวที่แยกทางกัน. เด็กขาดความอบอุ่น ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวเป็นหน้าที่หลักของพวกเรา เพื่อให้เด็กเหล่านี้กลับสู่สังคมได้อย่างราบรื่น


สาวประเภทสองนามสมมุติชื่อป้าเม่ง ปัจจุบัน อายุ 25 ปี กลายมาเป็นแม่เล้า เขาเล่าให้เราฟังว่า เขาก้าวมาใช้ชีวิตกลางคืน และเข้ามาสู่วงการค้าประเวณีนี้ตั้งแต่อายุ เพียง17 ปี ช่วงแรก ๆ ก็เป็นเด็กเสิร์ฟตามร้านอาหาร จากนั้นก็มีการชักชวนจากหมู่เพื่อนฝูงในบาร์ โดยเขาให้เหตุผลว่า "แม้เงินเดือนของคนทำงานบาร์จะน้อยกว่าเด็กเสิร์ฟ แต่ได้ทิปมากกว่า" และเมื่อเห็นเพื่อน ๆ ที่ทำงานด้วยกันไปกับแขกนักท่องเที่ยว กลับมาแต่ละครั้งก็ได้เงินจำนวนมากทำให้ตนเองรู้สึกว่ามันง่าย และไม่เห็นเหนื่อยเลย และเธอก็เริ่มที่ทำงานประเภทนี้บ้าง ประกอบกับกลุ่มนักท่องเที่ยวของบาร์ที่ป้าเม่งทำงานนั้น... มีรสนิยมชอบเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ทำให้ช่วงอายุของการทำงานของเธอนั้นสั้นมาก ๆ เมื่ออายุได้เพียง 20 ปี เธอเริ่มหันเหวิถีชีวิตมาเป็นนายหน้าหาเด็กตาม สวนสาธารณะต่าง ๆ ไม่ว่าสนามหลวง หัวลำโพง นำมาส่งให้แก่เอเย่นต์เจ้าของร้านตามบาร์ในเมืองท่องเที่ยว ซึ่งค่าหัวของเด็กจะตกอยู่ที่ 1,000.00 บาทเท่านั้น เธอเล่าให้เราฟังว่า "สงสัยเงินที่หนูได้นั้นเป็นเงินร้อน... ได้มาเท่าไรก็หมด ไม่เคยเหลือเก็บเลย" เธอเล่าให้ฟังต่อว่า รายได้ต่อวันของพวกเราของพวกเรานั้นไม่แน่นอน ถ้ามีก็จะใช้หมดเสื้อผ้า เครื่องประดับ อาหารการกิน และไก่

แรก ๆ ทีมงานที่ไปด้วยกันก็รู้สึกงง...กับคำว่า "ไก่" ทีแรกก็นึกว่าน้อง ๆ พวกนี้หาเงินมาได้ก็ไปเล่นการพนัน ที่ไหนได้ ไก่ ก็คือ "ยาบ้า" นั้นเอง เธอบอกว่าในย่านนี้ทั้งเด็ก ๆ และนักท่องเที่ยวก็เล่นด้วยกันทั้งนั้น หาซื้อง่าย "บางครั้งพวกนักท่องเที่ยวนะละตัวดี เป็นคนที่เอายามาล่อเด็ก" เพราะเด็กเร่ร่อนในย่านนี้ติดยาเสพติด ถ้ามีให้พวกเด็ก ๆ รับรองอยู่กันยาว ป้าเม่งเล่าให้ฟังว่า "นักท่องเที่ยวมีความเชื่อว่า ถ้าให้เด็กเล่นยาแล้ว จะทำให้เด็กมีอารมณ์ทางเพศที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาในการร่วมเพศจะนานยิ่งขึ้น"

หากฟังๆ ดูแล้วมันดูเหมือนว่า ยาเสพติด การค้าประเวณี และปัญหาเรื่องสุขภาพ เป็นสิ่งที่ไปแยกกันไม่ออกจริง ๆ บทความนี้คงไม่ใช่บทความแรกที่ต้องการผลักดันให้ภาครัฐหรือกลุ่มคนทำงานออกตัวมากวาดล้าง สิ่งเสพติด หรือการค้าประเวณี เพียงเพื่อการสร้างกระแส แต่อยากให้คนทำงานอย่างเรา ๆ ท่านๆ เข้าไปอย่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมิใช่มองพวกเขาเป็นตัวปัญหาหรือขยะของสังคม..เราไม่มีอะไรเหนือเขาเลยครับ.. ทั้งผมและคุณผู้อ่านเป็นส่วนหนึ่งเป็นกลไก และเป็นฟันเฟือง ของสังคม ตลอดจนเป็นกำลังของชาติทั้งสิ้น. . การทำงานที่มองเขาเหมือนคนในครอบครัว จึงเป็นวิธีการแก้ไขอย่างอ่อนโยน ละมุน ละม่อนมากที่สุด การสร้างความรู้ที่ยั่งยืน ตลอดจนการให้ความรู้ในการป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเสริมสร้างศัยภาพในการสร้างเกาะป้องกันตนเองจากยาเสพติดนั้น.. คงต้องทำไปพร้อมๆ กัน อย่าได้คิดว่าเป็นหน้าที่ของใครคนใด คนหนึ่ง และขอเถอะครับ อย่ามองพวกเขาเป็นปัญหา

ธเนศว์ กาญธีรานนท์

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

0 comments:

Blog Archive